เอกสารเผยแพร่ โรงเรียนกำแพง
ครูชนนิกานต์ เชื้อทอง : การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสาวชนนิกานต์ เชื้อทอง
หน่วยงาน โรงเรียนกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
ปีที่ทำการวิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ อัตราส่วนและร้อยละชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนกำแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำนวน 8 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 254 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนกำแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียน 36 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 14 แผน แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 14 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ จำนวน 40 ข้อ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.21 ถึง 0.78 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 ถึง 0.92 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 ถึง 0.64 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย() ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) ค่าร้อยละ (%) และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t - test (Dependent Sample) ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.19/82.15ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.54 แสดงว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 54
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก (= 4.34 และ S.D = 0.64 )
มุมครู : เผยแพร่ผลงาน
-
Best Practice นางสาวพิมพิไล ฤกษ์ใหญ่ : เน้นการสอนแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้วิธีการสอนตามเอกัตถภาพ (6)
-
Best Practice นางนางศุภานัน บำรุงธนรัชต์ : การพัฒนาศักยภาพการตัดต่อภาพยนตร์ (6)
-
Best Practice นายภูมินทร์ สุวรรณศรี : ศิลปะ เน้นการปฏิบัติโดยประสบการณ์ (7)
-
Best Practice ว่าที่ร้อยตรีหญิง จิณณ์ณณัช ปุณณภาพงศ์พัช : กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (รด.) (4)
-
Best Practice นางสมพร กสิพันธ์ : เปิดโลกกว้างสร้างประสบการณ์จากเล่มเล็ก (5)
-
Best Practice นางสมพร นวลรักษา : เล่มเล็กหรรษา (4)
-
Best Practice นางปาริสา อร่ามเรือง : การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา เรื่องความน่าจะเป็น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสานหลักการทำงานของศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (5)
-
Best Practice นางสาวพันธ์เครือ เจริญ : กิจกรรมการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (5)
-
Best Practice นางสาวบุญญาเนตร หนองยาง : พัฒนาผู้เรียนด้วยหลักพรมวิหาร 4 เพื่อความสำเร็จด้วยความสุข (6)
-
Best Practice กลุ่มสาระสุขศึกษาฯ : การพัฒนากีฬามวยไทยสู่ความเป็นเลิศ (7)
-
Best Practice กลุ่มสารคณิตศาสตร์ : การนิเทศโดยอาศัยแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผสานหลักการทำงานของศาสตร์พระราชาเพื่อยกระดับการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ (6)
-
Best Practice กลุ่มสาระการงานอาชีพฯ : ส่งเสริมทักษะการแกะสลักผลไม้เพื่อพัฒนาอาชีพแก่ผู้เรียนบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา (6)
-
Best Practice กลุ่มสาระศิลปะ : เลิศล้ำศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ (4)
-
บทความ โดย ครูปาริสา อร่ามเรือง : การนิเทศโดยอาศัยแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนกำแพง (20)
-
ครูปาริสา อร่ามเรือง : การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็น (31)
-
ฺฺฺBest Practice ครูปาริสา อร่ามรือง : การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ผสานหลักการทำงานของศาสตร์พระราชา (43)
-
ครูปาริสา อร่ามเรือง : การพัฒนาชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น (22)
-
ครูชนนิกานต์ เชื้อทอง : การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ (349)
-
ครูราเชนร์ พะวงษ์ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (558)