::: ขอต้อนรับสู่เว็บไซต์โรงเรียนกำแพง จังหวัดศรีสะเกษ เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ-ยโสธร   :::: www.kps.ac.th :::

เอกสารเผยแพร่ โรงเรียนกำแพง

ครูปาริสา อร่ามเรือง : การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็น

ชื่อเรื่อง  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  เรื่อง  ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 

ผู้วิจัย     ปาริสา  อร่ามเรือง

ปีที่ทำ    2561

 

                                                                     บทคัดย่อ

 

         การวิจัยเรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  เรื่อง  ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  เรื่อง  ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  เรื่อง ความน่าจะเป็น  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2560 โรงเรียนกำแพงอำเภออุทุมพรพิสัย  จังหวัดศรีสะเกษ  ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากจาก 3 ห้องเรียน ได้มา 1 ห้องเรียน  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/3  จำนวน  34  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ชนิด ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  จำนวน 20 แผน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  ค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและทดสอบค่าที (dependent t-test)  ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .01

 

ผลการวิจัยปรากฏ  ดังนี้

1.  ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานทั้ง 20  แผน  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีค่าเท่ากับ 81.43/80.44

2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  เรื่อง ความน่าจะเป็น  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.  ผลของการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา   เป็นฐาน  เรื่องความน่าจะเป็น  ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า  ด้านที่พึงพอใจมากที่สุด  ได้แก่  ด้านประโยชน์ที่ผู้เรียนได้รับ  รองลงมา  ได้แก่ ด้านผู้สอนและด้านการวัดและประเมินผลตามลำดับ       

 

 

 

Pin It