::: ขอต้อนรับสู่เว็บไซต์โรงเรียนกำแพง จังหวัดศรีสะเกษ เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ-ยโสธร   :::: www.kps.ac.th :::

เอกสารเผยแพร่ โรงเรียนกำแพง

บทความ : การนิเทศโดยอาศัยแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา รร.กำแพง

บทความ โดย ครูปาริสา อร่ามเรือง  :  การนิเทศโดยอาศัยแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนกำแพง

การนิเทศโดยอาศัยแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนกำแพง

นางปาริสา อร่ามเรือง

      กระบวนการนิเทศโดยอาศัยแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา โดยความหมายของการนิเทศโดยอาศัยแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในที่นี้ เป็นการนิยามจากการศึกษาความหมายของการสะท้อนคิด (Schon, ๑๙๘๗; Knowles, Cole & Press wood, ๑๙๙๔; Johns, ๒๐๐๐) และความหมายของชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ สรุปได้ว่า การนิเทศโดยอาศัยแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา เป็นการนิเทศที่ใช้กระบวนการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องของครูและนักการศึกษาในวงจรของการร่วมกันตั้งคำถาม และการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยส่งเสริมให้ครูคิดวิเคราะห์ด้วยหลักการและเหตุผล รวมทั้งการทบทวนและสะท้อนการทำงานของตน (Reflective Practice) เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ เกิดความคิดและมุมมองใหม่ ๆ และหากลวิธีในการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น ส่งผลให้ครูสามารถปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนเองเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

       Killion และ Todnem (๑๙๙๑) ได้นำเสนอกระบวนการสะท้อนคิดเป็นวงจรที่มี ๓ ระยะ ประกอบด้วย ๑) การสะท้อนคิดสาหรับการปฏิบัติ (Reflection for Action) เป็นการทบทวนเกี่ยวกับสิ่งที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ และระบุแนวทางที่จะนำไปใช้เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต ๒) การสะท้อนคิดในขณะปฏิบัติ (Reflection in Action) เป็นกระบวนการที่บุคคลต้องควบคุมความตั้งใจและการปฏิบัติของตนเอง และ ๓) การสะท้อนคิดหลังการปฏิบัติ (Reflection on Action) เป็นการย้อนกลับไปพิจารณาสิ่งที่ทำสำเร็จแล้ว และทบทวนเกี่ยวกับความคิด การกระทำ และผลงาน เป็นการประเมินตนเอง (Self-Evaluation) และมีปฏิกิริยาตอบสนองกับการปฏิบัติด้วยตนเอง (Self-Reaction) ซึ่ง Dunne และ Villani (๒๐๐๗) ได้นำกระบวนการสะท้อนคิดดังกล่าวมาใช้ในกระบวนการนิเทศ
แบบร่วมมือ ประกอบด้วยการสนทนาเพื่อสะท้อนคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติการสอนเป็น ๓ ระยะ ดังนี้

 

ระยะที่ ๑ การสนทนาเกี่ยวกับการวางแผนจัดการเรียนรู้ (Planning Conversation)

       การสนทนาเกี่ยวกับการวางแผนจัดการเรียนรู้ เป็นขั้นตอนที่ผู้นิเทศสนับสนุนให้ครูได้ระบุเป้าหมายการเรียนรู้ และอธิบายหรือสาธิตเกี่ยวกับสิ่งที่จะสอน โดยผู้นิเทศใช้คำถามนำเพื่อให้ครูได้ไตร่ตรองเกี่ยวกับการสอนของตนเองก่อนที่จะนำไปปฏิบัติการสอนในชั้นเรียน ผู้นิเทศจำเป็นต้องช่วยให้ครูเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับเป้าหมายในการสอนของตนเอง นอกจากนี้ ผู้นิเทศต้องส่งเสริมให้ครูได้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมการสอน พฤติกรรมของผู้เรียนที่คาดหวัง จุดมุ่งหมายของบทเรียน และผลการเรียนรู้ที่ต้องการ การดาเนินการสนทนาเกี่ยวกับการวางแผนจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพผู้นิเทศจึงจำเป็นต้องใช้คำถามเพื่อให้ครูได้ไตร่ตรองเกี่ยวกับการดาเนินการในเรื่องต่อไปนี้

๑. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้

๒. การระบุเนื้อหาสาระและวิธีการที่จะสอน

๓. การกำหนดกระบวนการ กิจกรรม และสื่อการเรียนการสอน

๔. การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ วิธีการวัดและประเมินผล

๕. การระบุประเภทของข้อมูลที่จะใช้สาหรับการสะท้อนคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติการสอน

๖. การทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ก่อนการนำไปใช้สอนในชั้นเรียน

 

ระยะที่ ๒ การสังเกตและการรวบรวมข้อมูลสำหรับการนิเทศ (Coaching Observation and Data Gathering)

        การสังเกตและการรวบข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการนิเทศเป็นขั้นตอนที่ผู้นิเทศทำการสังเกตการสอนในชั้นเรียนของครูและรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ครูนำไปใช้ในการสะท้อนคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติการสอนของตนเอง ข้อมูลสำหรับการนิเทศ จะต้องเป็นข้อมูลที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทักษะ ที่ต้องการ และเป็นข้อมูลเพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติงาน และในที่นี้

ขอยกตัวอย่างวิธีการรวบรวมข้อมูลสำหรับการนิเทศ ๒ วิธีดังนี้

๑. การบันทึกวาจาของครูและผู้เรียนตามที่ต้องการ (Selective Verbatim) โดยครูและผู้นิเทศควรตกลงร่วมกันก่อนว่า ครูต้องการข้อมูลเกี่ยวกับคำพูดของครูและผู้เรียนในเรื่องใดบ้าง และเทคนิคนี้จะมีประโยชน์อย่างยิ่งในกรณีที่ครูต้องการทบทวน ไตร่ตรองเกี่ยวกับการใช้คำถามของตนเอง ระดับการคิดของผู้เรียน หรือสังเกตปริมาณการพูดของครูในชั้นเรียนว่ามีมากน้อยเพียงใด

๒. การบันทึกเสียงหรือบันทึกวีดิทัศน์ (Audio or Video Recording) อาจเป็นการบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งหมดในชั้นเรียน การบันทึกเหตุการณ์บางส่วน หรือบันทึกเฉพาะประเด็นที่ครูต้องการทราบหรือสนใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการสอน ของตน เช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน พฤติกรรมของผู้เรียน

๓. การสนทนาเพื่อสะท้อนคิด (Reflecting Conversation)

การสนทนาในขั้นตอนนี้เป็นทั้งการสะท้อนคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ปฏิบัติไปแล้วและเป็นการเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับการวางแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับครั้งต่อไป ผู้นิเทศควรสนับสนุนให้การสนทนามีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และจัดเตรียมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเพื่อให้ครูนามาใช้ในการวิเคราะห์และเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติการสอนของตนเอง ในการสนทนาเพื่อสะท้อนคิด ผู้นิเทศต้องใช้คาถามเพื่อกระตุ้นให้ครูได้ไตร่ตรองเกี่ยวกับการสอนของตน ให้ครูทบทวนและทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น วิเคราะห์สาเหตุของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และพิจารณาว่าจะนาข้อมูลที่สังเกตได้ไปใช้อย่างไร และผู้นิเทศควรสนับสนุนให้ครูใช้กลวิธีต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ครูได้สะท้อนคิดเกี่ยวกับการสอนของตนเอง เช่น ให้ครูสรุปและสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นขณะสอน บอกวิธีการประเมินผล เปรียบเทียบระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่วางแผนไว้ ระบุผลกระทบของพฤติกรรมการสอนที่มีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน บอกสิ่งที่จะนาไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป

 

ระยะที่ ๓ สรุปรายงานผลการดำเนินงาน PLC

การออกแบบการนิเทศโดยอาศัยแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนกำแพง

 

 

Pin It